วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
รายชื่อสมาชิกไฟฟ้าอุตสาหกรรม
รายชื่อสมาชิก
1. อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค อ.ปาล์ม
2. นายสราวุฒิ เกบหมีน ซอล
3. นายวัชรินทร์ เขียนวารี ปอนด์
4. นายอภิวัฒน์ เจิมขวัญ กุ้ง
5. นายอาจณรงค์ ราชูภิมนต์ มิค
6. นายชัยยงค์ ชูแก้ว ปั๊ม
7. นายสุรศักดิ์ สะเกษ โจ้
8. นายวิโรจน์ เหมมาน ลิฟ
9. นายอาคม เรืองกูล แบงค์
10. นายวงศธร อินทมะโน หลวงหมีด
11. นายจตุพงค์ ณ สงขลา พงค์
12. นายจิรกิตต์ สุขเกษม บอย
13. นายจิรพงศ์ แจ่มศรี เอฟ
14. นายเชิดชาย เรืองฤทธิ์ ชาย
15. นายตวิษ เพ็งศรี บ่าว
16. นายธีรวุฒิ ศรีสวัสิ์ วุฒิ
17. นายนพรัตน์ แก้วกำเนิด เอ็กซ์
18. นายนันทปรีชา ปิยะ บุญสนอง โปร
19. นายนิรันดร์ เสมอพบ แบ
20. นายนิโรจน์ หวันปรัตน์ ซอล
21. ปภังกร เอียดจุ้ย กิ๊ฟ
22. นายปรินทร์ ผุดผ่อง บอล
23. นายพิชชากร มีบัว กร
24. นายพีรพงศ์ จันทร์ชู พงศ์
25. นายภาคภูมิ จุลนวล เจ
26. นางสาวเยาวเรศ ร่วมพรภาณุ โรส
27. นายรชต อารี รอน
28. นายรุสดี วาลี ซี
29. นายวสุ ราชสีห์ หนัง
30. นายวิฆเนศ ณ รังษี หมู
31. นายศุภวัฒน์ ไชยทองพรม รุส
32. นายสมประสงค์ วงศ์สุวรรณ ทู
33. นายสมศักดิ์ มากเอียด กล้วย
34. นายสานิต มิตสุวรรณ ปอ
35. นายสุรเดช สม่าแห ยา
36. นายเสะมาดี ตูแวดาแม ดี
37. นายอนิรุตต์ ภาระบุญ โต๋
38. นายอภิสิทธิ์ ยะโกบ ดุล
39. นายอับดุลรอมัน บูกา
40. นายอับดุลเลาะ กาโฮง เลาะ
41. นายอานนท์ นาควิเชียร นนท์
42. นายอาลียะ สะอุ ฟาน
43. นายอาหามะซุบฮี จะแน มะ
44. นายอิสมาแอ มะยี
45. นายอนุพงษ์ เทพพรหม ทิว
46. นายจตุรงค์ หิรัญกูล นิว
47. นายเกรียงศักดิ์ บุญประเสริฐ เบียร์
48. นายพุฒิพงศ์ หนูนอง เพชร
49. นายกิตติศักดิ์ ระบิงเกา
50. นายกฤษกร สุวรรณวงศ์ เอฟ
รูปแบบการเชื่อมต่อแบบผสม
การเชื่อมต่อแบบผสม (hybrid topology) เป็นการผสมผสานรูปแบบการเชื่อมต่อแบบต่างๆเข้าด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแบบวงแหวน การเชื่อมต่อแบบบัส หรือ การเชื่อมต่อแบบดาว
โดยออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง
* การเชื่อมต่อแบบผสม เป็นการรวมรูปแบบการเชื่อมต่อแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน
เหมาะสำหรับใช้ในองค์กรขนาดใหญ่
ข้อเปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบผสม
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบผสม
- สามารถเข้าถึงเครือข่ายที่อยู่ในระยะไกลได้
- ทำให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพ
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบผสม
- ดูแลระบบยาก
และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง
- โครงสร้างมีความซับซ้อนมีรูปแบบไม่แน่นอน
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เทคโนโลยีการสื่อสาร
3G และ 4G เทคโนโลยีใหม่มาแรง
เมื่อก่อนเราใช้โทรศัพท์เป็นโทรศัพท์ คือใช้โทรได้อย่างเดียว
นั้นเรียกว่ายุค 1G พอยุค 2G
โทรศัพท์ก็สามารถถ่ายรูปได้
ส่งข้อความได้ ส่งอีเมล์ได้ แต่ยังติดขัดอยู่ในเรื่องของสัญญาณติดๆ ขัดๆ เวลาเคลื่อนไหว
ส่วน 3G จริงๆ แล้วก็คือระบบโทรศัพท์ที่พัฒนาอีกขั้นหนึ่งให้มีการเชื่อมต่อตลอดเวลาในเรื่องของข้อมูลเฉพาะ
ฉะนั้นในด้านการเชื่อมต่อข้อมูลจะดีกว่า อีกทั้งยังไม่ได้คิดราคาตามเวลาการใช้
แต่จะคิดตามอัตราการโหลดข้อมูล และมีความเร็วในการใช้งานที่มากขึ้น
เพราะฉะนั้นโทรศัพท์ในยุค 3G จึงไม่ใช่แค่เพียงโทรศัพท์อีกต่อไป 3G ทำให้การพูดคุยสามารถเห็นหน้ากันได้
หรือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของซอฟท์แวร์ก็จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในโทรศัพท์ ก็คืออีกหน่อยโทรศัพท์อาจจะส่งสัญญาณให้ควบคุมสิ่งของในบ้าน
เช่น สั่งให้เปิดปิดตู้เย็น เปิดปิดหม้อหุงข้าว เป็นต้น หรือข้อมูลอะไรต่างๆ
ที่มีพื้นที่การเก็บข้อมูลมากๆ 3G ก็จะให้ประโยชน์เหล่านี้นั่นเอง
อย่างเช่น แผนที่เราก็สามารถดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เน็ตเข้ามาที่โทรศัพท์โดยผ่านระบบ 3G นี้ได้เลย
คำว่า 3G ในเรื่องของโทรศัพท์
ก็คือมาตรฐานการพัฒนาซึ่งแบ่งเป็นยุคๆ ตั้งแต่ยุค 1G ที่โทรศัพท์เป็นแบบเซลลูล่าอันใหญ่ๆ
ใช้สัญญาณอนาลอก หรือสัญญาณคลื่นวิทยุซึ่งเกิดในปี 1981 ยุคต่อมาคือ
2G เริ่มในปี 1992 โดยใช้ระบบดิจิตอล
คือการนำสัญญาณเสียงมาบีบอัดให้เล็กลงจนเป็นสัญญาณอิเล็กโทรนิก ต่อมาในปี 2001
ก็เริ่มมีการใช้โทรศัพท์ 3G ที่ญี่ปุ่นเป็นที่แรก
ที่นำระบบ 3G เข้ามาใช้จนถึงทุกวันนี้ จุดเด่นของ 3G คือรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ส่วนจุดอ่อนของ 3G คือ
การเปลี่ยนจาก 2G ปัจจุบันในประเทศไทยเรานั้นน่าจะเรียกว่าระบบ
2.9G คือจากระบบ 2G เป็น 2.5G จนมาเป็น 2.9G เช่น สามารถถ่ายภาพแล้วก็อัพเดตขึ้น Facebook
ได้เลย แต่ก็ยังต้องคอยอยู่ดี แต่ถ้าเป็น 3G แล้วก็จะเร็วขึ้นนั่นเอง
เพราะฉะนั้นก็เลยถือว่ามันไม่ได้ตอบสนองโจทย์ทั้งหมด
เพราะถ้าจะพัฒนาระบบทั้งหมดให้เป็น 3G ต้องใช้งบลงทุนมากมายมหาศาล
แต่สิ่งที่ได้มาบางทีอาจจะไม่คุ้มกับการใช้งานจริง ในส่วนของประเทศที่ใช้ 3G
มานานแล้วเขามองว่าจะเปลี่ยนเป็นระบบ 4G กันแล้ว
4G เป็นเหมือนการสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ 10
ปี
เทคโนโลยี LTE หรือ Long
Term Evolution เป็นชื่อเรียกที่รู้จักกันว่า 4G ( Forth Generation ) หรือโทรศัพท์ยุคที่ 4 เป็นเทคโนโลยีอนาคต ที่ต่อยอดจาก 3G ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถตอบสนองการใช้งาน
บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง โดยทำความเร็วตั้งแต่ 100 Mbps – 1024 Mbps
(1Gbps) เลยทีเดียว เร็วกว่า 3G เดิมถึง 7
เท่า
4G มีลักษณะแตกต่างจาก 3G คือ
ในเรื่องของการเชื่อมต่อแบบเคลื่อนไหวไร้รอยต่อ 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ
หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบใหม่นี้จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติ
การเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง
นอกจากนั้น สถานีฐาน
ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้
จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว
ด้วยความเร็วของ 4G
ที่เร็วแรงกว่า 3G นี้ การให้บริการ 4G
ผ่าน Wifi Adaptor จะทำให้เพิ่มโอกาสในการเข้าถึง
Internet ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพียงมี Aircard 4G และ Wifi Adaptor เมื่อเชื่อมต่อแล้ว สามารถแชร์สัญญาณ 4G เพื่อให้ใช้พร้อมกันกับอุปกรณ์ที่รองรับสัญญาณ
Wifi ได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
เสมือนกับถนนที่มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น ก็สามารถที่จะรองรับรถได้มากขึ้น
และวิ่งเร็วได้มากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ 4G ยังสามารถส่งไฟล์วีดีโอความละเอียดสูง
และการถ่ายทอดสดแบบ Live Broadcast แบบ Realtime การประชุมทางไกลแบบ Interactive ที่สามารถโต้ตอบแบบทันที
บริการ cloud service สนับสนุนการเรียนผ่านทาง e-learning
การรักษาโรคทางไกล (Telemedicine)
และ รวมไปถึงการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ซึ่งเหมาะสำหรับการทำธุรกิจด้านมัลติมีเดียและวีดีโอออนไลน์ในอนาคต
สำหรับ 4G จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง
100 เมกะไบต์ต่อวินาที
ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที นอกจากนี้ การพัฒนาต่างๆ ที่ ระบบ 3G รองรับ ระบบ 4G ก็จะรองรับในเวอร์ชันที่สูงกว่า
อย่างเช่น การใช้งานมัลติมีเดียที่ดีขึ้น
การรับส่งข้อมูลในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวที่ไหลลื่นกว่า
การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นสากลและความสามารถในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ รูปแบบต่างๆ
ได้ ผู้ที่อยู่ในแวดวงการอุตสาหกรรมต่างยังลังเลที่จะคาดการณ์
ทิศทางที่เทคโนโลยีในอนาคตอันใกล้จะเป็นไป แต่ก็คาดว่าการพัฒนาของ ระบบ 4G ได้รวมเอาความสามารถในการค้นหาสัญญาณเครือข่ายได้ทั่วโลกเข้าไว้ ด้วย ระบบ
4G อาจจะเชื่อมต่อโลกทั้งใบและสามารถกระทำได้ในทุกที่ไม่ว่าจะอยู่บนหรือแม้จะอยู่เหนือพื้นผิวของโลกได้อย่างแท้จริง
ต่างประเทศที่ทดสอบ 4G แล้วส่วนใหญ่อยู่ในแถบทวีปยุโรป
เช่น สวีเดน (ประเทศแรกของโลกที่ทดสอบ 4G) ญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ โปแลนด์ จีนก็เริ่มทดสอบแล้วเมื่อปี
2554 สิงค์โปรก็กำลังทำอยู่
สำหรับไทยนั้นเพิ่งเริ่มมีการทดสอบโดยความร่วมมือของผู้ให้บริการเครือข่าย
เอกชน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กสทช.)
ซึ่งเป็นเพียงการทดสอบในเชิงเทคนิคชั่วคราว โดยมิได้แสวงหากำไรผ่านการเปิดโอกาสให้ทั้งกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค พร้อมทั้งกลุ่มตัวอย่างของประชาชน
นักเรียนนักศึกษา ได้ทำการทดสอบด้วย ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการทดสอบในครั้งนี้
จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย
ที่เรียกได้ว่าปัจจุบันยังคงล้าหลังหลายๆ ประเทศอยู่มาก
เหตุผลที่เลือกบทความ “3G
และ 4G เทคโนโลยีใหม่มาแรง” นี้เพราะเทคโนโลยี 3G และ 4G กำลังเป็นกระแสที่คนไทยหลายๆคนในยุคปัจจุบันให้ความสนใจ
แม้ตอนนี้บ้านเราจะอยู่ในช่วงการพัฒนาเทคโนโลยี 3G ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แต่ก็มีการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี 4G ควบคู่กันไปด้วย
หลายๆคน อาจไม่รู้จักว่า 4G คืออะไร 4G เข้ามามีบทบาทอะไรในชีวิตประจำวันของเรา
และเมื่อมี 4G แล้ว คุณภาพชีวิตของเราจะดีขึ้นอย่างไร
บทความบทความนี้สามารถตอบโจทย์ที่เราสงสัยไว้ในใจได้ครบถ้วน
รวมถึงบอกครอบคลุมการทดลองใช้ทั้งในประเทศและนอกประเทศ
บทความนี้แสดงให้เห็นว่าคนไทยก็มีความกระตือรือร้นสนใจทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารโดยเริ่มมีการทดสอบโดยความร่วมมือของผู้ให้บริการเครือข่ายเอกชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กสทช.) แม้จะเป็นเพียงการทดสอบเชิงเทคนิคชั่วคราว
ก็ยังเป็นความหวังอย่างยิ่งว่าการทดสอบครั้งนี้ จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย
ประโยชน์ของเทคโนโลยีการสื่อสาร 4G ดังนี้
1.สามารถตอบสนองการใช้งานสื่อสารไร้สายความเร็วสูง ที่มีความเร็วตั้งแต่ 100
Mbps-1024 Mbps(1Gbps)หรือเร็วกว่าเทคโนโลยี 3G มากถึง 7 เท่า
2.สามารถเชื่อมต่อในรูปแบบ เสมือนจริงหรือ 3 มิติ (three-dimensional)
ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง
และสถานีฐานที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งสามรถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มสูงขึ้นถึง
100 Mbps เร็วกว่าปัจจุบันถึง 10 เท่า
3.สามารถชมโทรทัศน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือพูดคุยผ่านระบบ Video
call ของโทรศัพท์ได้อย่างคมชัด ไม่กระตุกหรือช้า
4.สามารถส่งไฟล์วิดีโอที่มีความละเอียดสูง รับชมการถ่ายทอดสดแบบ Realtime
การประชุมทางไกลแบบ Interactive ที่สามารถโต้ตอบแบบทันที
5.บริการ cloud service สนับสนุนการเรียนผ่านทาง e-learning
การรักษาโรคทางไกล (Telemedicine) รวมไปถึงการชมภาพยนต์ความละเอียดสูงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
6.อาจพลิกวงการธุรกิจด้านมัลติมีเดียและวีดีโอออนไลน์ในอนาคต
ส่วนข้อเสีย หรือผลกระทบที่จะเกิดกับตนเองหรือสังคมนั้น คิดว่า
จะทำให้คนส่วนใหญ่หมกมุ่นอยู่กับเทคโนโลยีใหม่ๆมากขึ้นจนเกิดผลเสียต่อตนเองและสังคมได้
เช่น เด็กๆจะสนใจแต่โทรศัพท์ มือถือ
นั่งอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ สนใจในโลกออนไลน์มากเกินไป
ทำให้ไม่อ่านหนังสือหรือลืมทำการบ้าน และหลายๆคนมีเทคโนโลยีช่วยทำให้มีความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน
จนบางคนทำอะไรไม่เป็นเลย ถ้าไม่มีเทคโนโลยีมาช่วย เขาคงจะอยู่ไม่ได้
และที่เลวร้ายไปกว่านั้น คือ การนำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ผิด เพื่อทำในสิ่งที่ไม่ดี
อาจทำให้เกิดผลเสียต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมประเทศชาติได้
วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)